ตรวจภายใน ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?

สาวๆ หลายคนมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่อง ตรวจภายใน หรือ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap Test)
แม้ว่าการ ตรวจภายใน หรือ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap Test) จะช่วยให้คุณถอยห่างจากมะเร็งปากมดลูก แต่พวกเธอก็ยังรู้สึกอึดอัด ไม่สบายใจ แม้ว่ามันจะเป็นเรื่องธรรมดาและจำเป็นที่ต้องทำ ดังที่ศูนย์มะเร็งปากมดลูกแห่งออสเตรเลียแจ้งว่า ผู้หญิงที่เสียชีวิตด้วยมะเร็งปากมดลูกถึง 90% ไม่เคยทำแปปเทสต์ทุกๆ 2 ปี ตามคำแนะนำของหมอ
วันนี้เรามีคำตอบจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญมาไขข้อข้องใจและแนะนำการเตรียมตัวเข้าตรวจแปปเทสต์อย่างหมดเปลือกมาบอกสาวๆ ด้วยค่ะ
Q : แปปสเมียร์คือการตรวจหาอะไรคะ
A: แปปสเมียร์คือการตวจเซลล์ที่มองเห็นได้ตรงบริเวณน้องหนู อย่างปากช่องคลอด ช่องคลอดและปากมดลูก ว่ามีความผิดปกติใด ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นมะเร็งปากมดลูกได้หรือเปล่า
Q : เป็นการตรวจหาเชื้อ HPV ใช่ไหม
A: คุณไม่สามารถมองเห็นเชื้อไวรัส HPV ได้ด้วยตาเปล่า หรือกล้องจุลทรรศปกติ แต่ที่หมอสนใจคือ มันเกิดเปลี่ยนแปลงที่บ่งบอกว่า ผู้ป่วยมีเชื้อ HPV หรือไม่ ซึ่งผลการตรวจมีระดับค่าความเปลี่ยนแปลงของเซลล์สูง–ต่ำ ซึ่งเป็นตัวบอกว่ามีเชื้อ HPV กำลังวิ่งเล่นและสร้างความเสียหายภายในช่องคลอดของคุณอยู่ หากผลออกมามีค่าความเปลี่ยนแปลงสูง คุณจะต้องเข้ารับการตรวจ Biopsy ซึ่งเป็นการนำชิ้นเนื้อไปตรวจวิเคราะห์อย่างละเอียด ซึ่งสามารถวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำว่า เป็นเซลล์มะเร็งหรือไม่
Q : วิธีไหนช่วยให้ไม่รู้สึกเจ็บเวลาตรวจครั้งต่อไป
A: คุณแค่ต้องหามุมให้ช่องคลอดเอียงเล็กน้อย อาจใช้หมอน ผ้าขนหนูม้วน หรือมือของคุณเอง วางไว้ใต้ปากช่องคลอด กล้ามเนื้อบริเวณนั้นจะผ่อนคลาย การสอดเครื่องมือก็สะดวกขึ้น อีกวิธี คือการสูดหายใจลึกๆ แต่หากคุณสามารถสูดหายใจลึกและยาว ช้าๆ ได้ กล้ามเนื้อจะผ่อนคลาย แล้วการตรวจภายในจะไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไป
Q : ในรอบ 1 เดือนเวลาไหนที่เหมาะแก่การตรวจแปปเทสต์มากที่สุด
A: ภายใน 7 วันหลังหมดประจำเดือน เป็นช่วงที่ระดับโปรเจสเทอโรนต่ำ แพทย์สามารถมองเห็นเซลล์ต่างๆ ภายในชัดเจนมากขึ้น ค่าผลตรวจที่ปรากฏจะแม่นยำขึ้นเช่นกัน
Q : มีเลือดออกหลังทำแปปเทสต์ เป็นเรื่องปกติใช่ไหม
A: ใช่ค่ะ เป็นเรื่องปกติมากเลย บางครั้งเครื่องมือของเราอาจไปกระทบเซลล์ภายใน ซึ่งค่อนข้างบอบบาง (โอ๊ว!) ดังนั้น อย่าเพิ่งซีเรียส แค่มีเลือดออกนิดหน่อย มันไม่ได้หมายความว่ามดลูกจะชำรุดเสียหน่อย
Q : ThinPrep คืออะไร
A: ThinPrep คือชื่อทางการค้าของวิธีตรวจเช็กซึ่งใช้ของเหลวเป็นส่วนผสมหลักเพื่อเตรียมตัวตรวจ Paptest ในขั้นต่อไป ความแตกต่างกันอย่างยิ่งระหว่างการตรวจ ThinPrep และวิธีแบบดั้งเดิมแท้จริงแล้วก็คือ ThinPrep เพิ่มความเป็นไปได้ในการอ่านค่าความเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนกว่า คุณจะได้ไม่ต้องทำใจขึ้นขาหยั่งเป็นครั้งที่สอง (แหม ถึงจะตรวจเป็นประจำ ก็อดเขินคุณหมอไม่ได้ จริงไหมคะ) อย่างไรก็ตามการตรวจแบบดั้งเดิมก็เพียงพอแล้ว เพราะการตรวจทั้งสองชนิดต่างกันเพียงนิดเดียว
Q : หากดิฉันมีผลการตรวจในระดับปกติมาหลายปีแล้ว แถมยังไม่มีคู่นอนใหม่ มีโอกาสติดเชื้อ HPV หรือไม่
A: แน่นอนค่ะ ร่างกายไม่ได้สร้างเจ้าวายร้ายนี่ขึ้นมา แต่เชื้อ HPV อาจแอบซ่อนอยู่โดยไม่แสดงอาการใดๆ ผู้หญิงจึงจำเป็นต้องตรวจแปปเทสต์ทุก 2 ปีจนกว่าจะอายุ 70 ปี
Q : หากมีเชื้อ HPV ดิฉันจะเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือเปล่า
A: ไม่ค่ะ ไม่ใช่ทุกคนที่มีเชื้อ HPV แล้วจะเป็นมะเร็งปากมดลูก อันที่จริงปกติผู้หญิงและผู้ชายประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์จะมีเชื้อ HPV อยู่ในร่างกายทั้งชีวิต แต่มันจะสำแดงฤทธิ์เดชเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของคุณอ่อนแอ นี่คือเหตุผลในการสร้างวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV ใครที่ได้รับวัคซีนนี้ สบายใจได้ค่ะว่าคุณมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกน้อยลง
Q : หากผลการตรวจเป็นปกติ จะเป็นไปได้ไหมว่าระหว่างสองปี เชื้ออาจพัฒนาเป็นมะเร็ง
A: เป็นไปไม่ได้เลยค่ะสมมติว่าผลตรวจแปปเทสจะพบว่าคุณมีความผิดปกติสูงแล้วอีกสองปีคุณอาจจะเป็นมะเร็งก็ไม่มีทางเป็นไปได้เลยหากคุณตรวจแปปสเมียร์รับรองว่าคุณมีเวลาเพียงพอที่จะขอคำปรึกษาจากแพทย์และวิธีรักษาตัว
Q : นอกจากวัคซีนป้องกัน HPV ยังมีวิธีอื่นอีกไหมที่ทำให้ระบบสืบพันธุ์เป็นปกติและสุขภาพดี
A: สิ่งสำคัญที่สุดคือการรักษาความสะอาดให้กับน้องหนู ช่องคลอดมีกลไกการทำความสะอาดตัวเองดีอยู่แล้ว โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องไปรบกวนมันมาก ใช้เพียงน้ำเปล่าล้างให้สะอาดก็เพียงพอ และหลีกเลี่ยงการใช้สบู่หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอื่นๆ