5 เทคนิค “โน้มน้าวใจคน” ให้อยู่หมัด

“เวลาเราเจอใครที่สามารถทำให้ทุกคนทำตามอย่างที่เขาต้องการ เรามักคิดว่าเขามีพรสวรรค์วิเศษอะไรสักอย่าง”
นี่เป็นคำกล่าวของคริสฮิแลร์ (Christ St.Hilaire) นักเขียนหนังสือชื่อ 27 Powers of Persuasion แต่ตัวคุณเองก็ใช้เคล็ดลับเหล่านี้ให้คนอื่นทำอะไรต่อมิอะไรตามได้เช่นกัน
– 1 –
กำจัดความกลัวออกไป
สร้างความแข็งแกร่งภายในที่จะกำจัดความกลัวให้หายไปได้ ตัวอย่างเช่นก่อนจะขอส่วนลดจากผู้จัดการโรงแรมโดยอ้างว่าอ่างอาบน้ำของสปาเสีย หรือคุยกับเจ้านายเพื่อขอเลื่อนตำแหน่งที่หมายปองอยู่ ลองฝึกก่อนมั้ยว่าจะพูดโน้มน้าวนายอย่างไร “คุณจะดูมีความมั่นใจและน่าเชื่อถือมากขึ้นหากลองฝึกว่าจะพูดอะไรบ้าง” ดร.ริชาร์ดเชลล์อธิบายเขาเป็นศาสตราจารย์วิชากฎหมายและผู้อำนวยการเวิร์กช็อปกลยุทธการโน้มน้าวของ Wharton school’s at University of Pensylvania อเมริกา
– 2 –
ปล่อยให้คนเห็น ‘ความอ่อนแอ’ ของคุณ
อาจฟังดูเหมือนเป็นการทำร้ายตัวเองแต่มันเป็นขั้นตอนที่ขาดไม่ได้ที่จะทำให้คนอื่นเห็นด้วยกับความคิดเรา ยกตัวอย่างถ้าคุณเป็นคนดื้อไม่ฟังใครคริสเซนต์ฮิแลร์แนะนำให้พูดอะไรประมาณว่า “ฉันเป็นคนเชื่อมั่นในความคิดตัวเองมากจนบางครั้งดูหัวแข็งเกินไปถ้าทำตัวอย่างนี้เมื่อไหร่ทุกคนช่วยเตือนหน่อยน่ะ” แล้วถ้าคุณเป็นคนขี้อายให้พูดประมาณนี้ “ถ้าฉันดูเงียบๆ อาจเพราะฉันชอบฟังทุกคนพูดก่อนแล้วค่อยร่วมจอยข้อคิดเห็นหลังได้ทบทวนความเห็นของคนอื่นแล้ว”
– 3 –
ใช้ภาษากาย
ฝึกใช้สายตามากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าการมองตาคนเราจะดูน่าเชื่อถือและดูมีอำนาจมากขึ้น ลองพยายามมองตาใครสักคนแล้วให้เขามองกลับสักประมาณสามสี่วินาที ไม่ต้องนานกว่านั้นเพราะเขาอาจกลัวได้ สังเกตดูท่าทางคู่สนทนาด้วย
แมเรี่ยนคารินช์แนะนำเธอเป็นเจ้าของหนังสือเรื่อง Get People to Do What You Want “จะช่วยให้เข้าใจความรู้สึกเขามากขึ้นและช่วยให้คุณปรับปรุงวิธีพูดในตอนนั้นได้” คารินช์บอกหากคนที่คุณคุยด้วยเอนหลังแล้วกอดอกเขาอาจไม่พร้อมรับฟังหรือเปิดรับสิ่งที่คุณจะบอกดังนั้นนี่เป็นเวลาที่ต้องลองใช้วิธีอื่นแล้วหากคุณสังเกตเห็นว่าเขากระดิกเท้าหรือสั่นขานั่นเป็นสัญญาณว่าคนๆนั้นอาจรู้สึกตื่นเต้นถึงขั้นนี้ต้องพยายามให้เขารู้สึกผ่อนคลายโดยการปล่อยมุกเรียกเสียงหัวเราะหรือไม่ก็ยิ้มให้มากขึ้น
– 4 –
ทิ้งความหลงตัวเองไปเสีย
การโน้มน้าวคน คุณต้องหาสิ่งที่ทำให้คุณเหมือนกับเขายกตัวอย่างว่าถ้าคุณเป็นคนจังหวัดเดียวกันหรือเรียนจบจากมหาวิทยาลัยเดียวกัน พยายามพูดถึงจุดนี้อย่าพูดอะไรที่ขัดแย้งกับความคิดเขาอย่างสิ้นเชิงให้ใช้คำว่า ‘และ’ แทนที่จะใช้คำว่า ‘แต่’
อีกอย่างที่อยากให้ลองคือพยายามเลียนแบบคำพูดและการเคลื่อนไหวของเขาผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยดุ๊กพบว่านักเรียนมักตอบคำถามในทางที่ดีสูงขึ้นหากผู้สัมภาษณ์เคลื่อนไหวร่างกายเหมือนพวกเขาปัจจัยทั้งหมดคุณจะถูกมองว่าฉลาดและไว้ใจได้เพราะมันทำให้คุณคล้ายกับเขามากขึ้น
– 5 –
ใช้บุคคลที่สาม
มนุษย์ชอบเป็นหนึ่งในคนกลุ่มแรกที่มีส่วนร่วมกับอะไรสักอย่างแต่ว่าไม่ได้ชอบเป็นคนแรกเสมอไป “ความกลัวทำให้เราไม่อยากอยู่ที่หัวแถวแต่การอยู่ใกล้จุดนั้นทำให้คุณสามารถจับจังหวะคลื่นก่อนที่มันจะขึ้นสูงสุดพอดีใครๆก็อยากเป็นนักโต้คลื่นคนนั้น” ดังนั้นควรใช้บุคคลที่สามมาเป็นตัวยืนยันว่า “เพื่อนฉันที่เป็นหัวหน้าพ่อครัวบอกว่าอาหารร้านนี้เป็นหนึ่งในมื้ออาหารที่อร่อยที่สุดในเมืองนี้” เซนต์ฮิแลร์กล่าวมันชี้ให้เห็นว่ามีคนอื่นคิดเหมือนคุณและอยู่ข้างเดียวกับคุณซึ่งจะทำให้คนอื่นอยากย้ายมาอยู่ข้างนั้นเช่นกัน