ภัยเงียบใกล้ตัว ของกระป๋องและพลาสติกใส่อาหาร

เรียกว่าเป็น ภัยเงียบใกล้ตัว ใกล้ตัวเรามาก
สำหรับบรรจุภะณฑ์ใส่อาหาร กระป๋องและพลาสติก
ภัยเงียบใกล้ตัว ที่ Women’s Health มักจะเตือนคุณผู้อ่านเสมอว่า Bisphenol A หรือ BPA ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องและทำเครื่องใช้พลาสติกมีโทษต่อร่างกายมากมายส่งผลต่อสมองทำให้ประสิทธิภาพในการจดจำลดลงกระตุ้นการผลิตเอนไซม์บางชนิดมากเกินความจำเป็นจนเกิดผลเสียหนำซ้ำยังเกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานและโรคหัวใจอีกด้วย
แม้ว่าคุณจะหยุดใช้ขวดพลาสติกและอาหารกระป๋องแต่หากไม่เลิกใช้โดยเด็ดขาดหรือระมัดระวังน้อยลงอ่านคอลัมน์นี้แล้วจะรู้ว่า BPA ใช่แค่ส่งผลเสียต่อสุขภาพเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อการถ่ายทอดสู่รุ่นลูกรุ่นหลานถึง 4 รุ่น พิจารณาจากเด็กอเมริกัน 90 เปอร์เซ็นต์ที่ได้รับผลกระทบจากสปาเก็ตตี้มีตบอลบรรจุกระป๋อง คุณคงไม่อยากเป็นคุณแม่ที่ถ่ายทอดอันตรายของ BPA ไปให้ลูกหลานใช่ไหมคะหากยังคงมีคำถามว่าเป็นไปได้ยังไงเรามาอ่านต่อกันเลยค่ะ
เฝ้าสังเกตพฤติกรรม
การศึกษาชิ้นใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Endocrinology ซึ่งทำการทดลองเกี่ยวกับผลกระทบของ BPA ที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมในหนู ทีมนักวิจัยแบ่งแม่หนูเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกได้รับอาหารที่มี BPA ปนเปื้อน กลุ่มที่สองได้รับอาหารธรรมดาที่ไม่มีสารปนเปื้อน จากนั้นเฝ้าสังเกตพฤติกรรมของลูกหนูที่คลอดออกมาทั้ง 3 รุ่น พบว่า ลูกหนูรุ่นที่ 2 จากแม่หนูกลุ่มแรกมีพฤติกรรมเข้าสังคมน้อยบวกกับแยกตัวออกจากฝูง พวกมันใช้เวลาสำรวจและปฏิสัมพันธ์กับหนูตัวอื่นน้อยลง ในขณะลูกหนูรุ่นที่ 3 กลับมีพฤติกรรมตรงข้าม พวกมันเข้าสังคมและมีปฏิสัมพันธ์มากกว่า ฟังแล้วน่าจะเป็นเรื่องดี แต่เจ้าสารวายร้ายนี้ยังมีผลกับหนูรุ่นต่อๆ ไปอีกหลายประการ
พฤติกรรมสัมพันธ์กัน
ปัญหาพฤติกรรมที่นักวิทยาศาสตร์สังเกตได้ในลูกหนูหลายรุ่นกลุ่มแรกมีความคล้ายคลึงกับโรคออทิสติกและโรคสมาธิสั้นในเด็ก “ภาวะออทิสซึ่มจะมีพฤติกรรมการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมน้อยกว่าปกติ ซึ่งเป็นพฤติกรรมเดียวกับลูกหนูกลุ่มที่ได้รับการถ่ายทอด BPA เอมิลี่ เอฟ รีซแมน (Emilie F. Rissman) ศาสตราจารย์ด้านชีวเคมีและโมเลกุลพันธุกรรมแห่งมหาวิทยาลัยแพทย์เวอร์จิเนีย ลงในรายละเอียด นักวิจัยยังพบการเปลี่ยนแปลงทางเคมีภายในร่างกายของลูกหนูทั้ง 4 รุ่นนั่นคือ Estrogen Receptors ทำงานผิดเพี้ยน และการทำงานของฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดในสมองออกซิโทซินฮอร์โมนความรักและวาโซเพรสซินฮอร์โมนที่มีอิทธิพลต่อการเกิดพฤติกรรมก้าวร้าว
ที่น่าสนใจก็คือนักวิจัยใช้ BPA ทดลองกับหนูในระดับเท่ากับปริมาณที่มนุษย์อาจจะได้รับแม้พฤติกรรมของหนูและมนุษย์จะแตกต่างกันสิ้นเชิงแต่หนูมีลักษณะทางพันธุกรรมคล้ายคลึงกับมนุษย์นักวิจัยมักใช้หนูเป็นโมเดลในการทดลองเพื่อพยากรณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับมนุษย์
ได้เวลากำจัด BPA ออกไปจากชีวิต
>เลิกขาดกับอาหารกระป๋อง เพราะมันทำมาจากเรซินอีพ็อกซี่ซึ่งมีสาร BPA ไม่ว่าจะเป็น ซุปกระป๋อง ถั่วกระป๋องหรือน้ำอัดลมกระป๋อง แนะนำให้เลือกใช้ภาชนะปลอดเชื้อ โถแก้วหรือกินอาหารแช่แข็งแทน
>เปลี่ยนมาใช้โหลแก้วและจานเซรามิกแทนการใช้กล่องพลาสติก ส่วนสาวประหยัดขยันหิ้วกล่องข้าวไปกินที่ทำงาน แนะนำให้ใช้ปิ่นโตสแตนเลสดีกว่า เลือกเอาว่า กลัวเชยแต่สุขภาพเสื่อม หรือยอมหิ้วปิ่นโตเชยๆ เพื่อความปลอดภัย
>อย่าหลงเชื่อฉลากโฆษณาชวนเชื่อที่ติดไว้ข้างกล่องว่า ‘BPA-Free’ จากผลศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Evironmental Health Perspectives พบว่า พลาสติกที่ดูเหมือนมีคุณภาพดี อาจมีสารอื่นที่นำมาใช้แทน BPA ซึ่งอาจเป็นอันตรายมากกว่าเสียอีก
>จับใบเสร็จรับเงินให้น้อยที่สุด เพราะกระดาษใบเสร็จเคลือบด้วย BPA ซึ่งอาจติดนิ้วมื้อ และคุณไม่มีทางรู้เลยว่าเมื่อไรที่เผลอเอามันเข้าปากพร้อมขนมสักชิ้น
>ระวังสารผนึกที่อุดรูฟัน BPA เป็นสารประกอบวัสดุที่ใช้อุดฟันและรักษาฟันผุ จากการศึกษาชิ้นล่าสุดที่เชื่อมโยงการใช้ BPA รักษาฟันกับปัญหาการเข้าสังคมในเด็ก ซึ่งหมอเด็กเรียกร้องให้ทันตแพทย์หาวัสดุอื่นมาใช้แทน อย่างไรก็ตาม BPA เป็นตัวเลือกที่มีความคงทนและมีประสิทธิภาพการปกป้องฟันได้ดีที่สุดในบรรดาอุปกรณ์ทำฟัน หมอฟันจึงไม่เต็มใจเปลี่ยนนัก (ตัวเลือกอันดับแรกก็คือ ตะกั่ว ซึ่งเป็นอันตรายพอๆ กัน) การป้องกันฟันผุและรักษารากฟันเป็นวิธีหลีกเลี่ยง BPA จากสารอุดฟันที่ดีที่สุด วิธีง่ายๆ แต่ได้ผลคงหนีไม่พ้นการแปรงฟันให้สะอาดและตรวจเช็กสุขภาพฟันสม่ำเสมอ
ติดตาม Women’s Health Thailand ได้ที่นี่
♥ Website : https://womenshealththailand.com/
♥ Instagram : https://www.instagram.com/womenshealththai/
♥ Facebook : https://www.facebook.com/WHthailand/
♥ Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCIhD_CWb5KOXLONhw4J4RuQ